Last updated: 18 ส.ค. 2566 | 1245 จำนวนผู้เข้าชม |
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมโดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ กลุ่มสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วย รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ประธานคณะผู้ตรวจสอบทางวิชาการฯ กลุ่มเรื่องสังคมไทยไร้ความรุนแรง ประจำปี 2566 รศ.ดร.สมถวิล ธนะโสภณ ผู้ตรวจสอบทางวิชาการฯกลุ่มเรื่องสังคมไทยไร้ความรุนแรงประจำปี 2566 ผู้ทรงคุณวุฒิจาก วช. และสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดสงขลา เพื่อเยี่ยมชมผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาเครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการกระทำความผิดทางเพศในครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ” ที่ วช. ให้การสนับสนุนทุนวิจัย โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุณีย์ ต้องกัลยะจิตร จาก มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการวิจัยฯ ให้การต้อนรับ ณ โรงแรมคริสตัล หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. มีนโยบายที่มุ่งส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาด้านการศึกษา เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ภายใต้การสนับสนุนจาก วช. การดำเนินโครงการวิจัย ที่มีความท้าทายและมีเป้าหมายชัดเจน รวมถึงการส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ ตลอดจนผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการพัฒนา และสามารถแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ ได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งการพัฒนาเครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการกระทำความผิดทางเพศในครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ นั้น ถือเป็นปัญหาทางสังคม ที่มีความท้าทายในการแก้ไข เพราะความรุนแรงมีหลายมิติ และมีความสลับซับซ้อน เช่น ความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงในโรงเรียน ความรุนแรงทางสื่อ ความรุนแรงบนท้องถนน และยังมีความรุนแรงอีกหลายรูปแบบ ที่เป็นภัยแฝงของสังคม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับประชาชนทุกกลุ่มเพศ และทุกวัย ดังนั้นการลดความรุนแรงในสังคมไทยจึงถือเป็นโจทย์ท้าทายที่สำคัญสำหรับการวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ทางสังคมให้กับคนไทยได้อย่างมั่นคง และสามารถนำไปสู่การลดปัญหาความรุนแรงในสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน
รองศาสตราจารย์ ดร.สุณีย์ กัลยะจิตร หัวหน้าโครงการวิจัย เปิดเผยว่า จากงานวิจัยนำไปสู่การต่อยอดนวัตกรรมการพัฒนาเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการกระทำความผิดทางเพศในครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการนำแอปพลิเคชัน BeBrave ไปใช้ในการป้องกันการกระทำความผิดทางเพศในสถาบันอุดมศึกษากระบวนการยุติธรรมทางอาญาในส่วนของแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดำเนินคดีสำหรับผู้กระทำความผิดและการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศเครื่องมือตัวนี้ให้เชื่อมโยงกับองค์กรของรัฐโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง หรือกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อผนึกกำลังกันป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและครบวงจร ด้วยแอพพลิเคชั่นแก้ปัญหาการถูกล่วงละเมิดทางเพศระบบช่วยเหลือฉุกเฉินในยามคับขันของผู้ที่ต้องเป็นเหยื่อเพื่อขอความช่วยเหลือด่วน Emergency SOS ซึ่งเพียงแค่กดปุ่มเดียวระบบจะส่งข้อความฉุกเฉินและแชร์โลเคชั่นไปทาง SMS และส่งสัญญาณโทรศัพท์เรียกเข้ากลับไปยังผู้ขอความช่วยเหลือได้ภายใน 1 นาที นับเป็นนวัตกรรมที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้การสร้างความรู้ความเข้าใจครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ปกครองเป็นแบบอย่างที่ดี สอนให้ลูกรู้จักปกป้องตัวเอง ให้คำแนะนำปรึกษาเรื่องเพศอย่างเหมาะสม ส่วนที่โรงเรียนเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมสอดส่องพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและมีบทลงโทษที่ชัดเจน สำหรับในชุมชน