วว.-พันธมิตรอาเซียน ร่วมขับเคลื่อนนโยบาย "แผนปฏิบัติการระดับเมือง" นำเทคโนโลยี นวัตกรรม ควบคุมมลพิษทางอากาศ

Last updated: 2 ก.ย. 2566  |  245 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วว.-พันธมิตรอาเซียน ร่วมขับเคลื่อนนโยบาย "แผนปฏิบัติการระดับเมือง"  นำเทคโนโลยี นวัตกรรม ควบคุมมลพิษทางอากาศ

วว.-พันธมิตรอาเซียน ร่วมขับเคลื่อนนโยบาย "แผนปฏิบัติการระดับเมือง" นำเทคโนโลยี นวัตกรรม ควบคุมมลพิษทางอากาศภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการประชุม TISTR International Conference on Air Pollutions, Perspective, Prediction, Prevention and Control (In conjunction with ASEAN Sustainable Energy Week 2023, ASEW) ซึ่งได้รับเกียรติจาก Dr. Preeti Soni Head, Asian and Pacific Centre for Transfer of Technology (APCTT), United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (ESCAP) เป็น Keynote Speaker ในหัวข้อเรื่อง Perspective on Air Pollution Management of Asia-Pacific Region

โดยมี ดร.ประทีป วงศ์บัณฑิต รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน วว. กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมและวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจาก วว. กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) Asian Institute of Technology และผู้ทรงคุณวุฒิจาก เวียดนาม อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา โอกาสนี้ นายสมพร มั่งมี กรรมการ วว. ดร.สุวิทย์ อัจริยะเมต ผอ.ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ วว. เข้าร่วมกิจกรรมด้วย ในวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ณ ห้อง MR 103 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และรูปแบบไฮบริด

ทั้งนี้ วว. เป็นหน่วยงานหลักของประเทศไทย ในการดำเนินโครงการ Enhanced capabilities to adopt innovative technologies for city air pollution control in select countries of the Asia-Pacific ร่วมกับหน่วยงาน Asian and Pacific Centre for Transfer of Technology (APCTT), United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (UNESCAP) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Korea-ESCAP Cooperation Fund (KECF) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนนโยบายและแผนปฏิบัติการระดับเมือง ให้สามารถนำเทคโนโลยี นวัตกรรม มาใช้ในการควบคุมมลพิษทางอากาศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อคิดเห็น เกี่ยวกับช่องว่างและความจำเป็นของเทคโนโลยีในการควบคุมมลพิษทางอากาศ

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้