Last updated: 5 ธ.ค. 2566 | 744 จำนวนผู้เข้าชม |
ผ่านพ้นไปไม่นานกับปรากฏการณ์เทคโนโลยีดิจิทัลขับเคลื่อนประเทศไทยครั้งใหญ่ที่ได้รวบรวมผู้บริหารระดับแถวหน้าทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจาก 3 บิ๊กอุตสาหกรรมเส้นเลือดใหญ่ของประเทศ ได้แก่กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต (Smart Manufacturing) กลุ่มธุรกิจผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีก(Smart Property & Retails) และกลุ่มธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ (Smart Transportation & Logistics) ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการผลักดัน GDP เศรษฐกิจดิจิทัลไทยให้เติบโต ตบเท้ามาร่วม Cross Industry Collaboration เปิดวิสัยทัศน์และถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานสุดเอ็กซ์คลูซีฟ พร้อมโชว์โซลูชันและนวัตกรรมเทคโนโลยีสุดล้ำ ในงาน "AIS Business Digital Future 2024 – DIGITAL INDUSTRY EVOLUTION"
โดยหนึ่งใน (Tech) Talk of The Town ดาวรุ่งสำคัญของงานครั้งนี้อย่าง เออาร์วี (ARV) หรือ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด ผู้นำด้านการพัฒนาและให้บริการเทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ของไทย นำโดย คุณปฏิญญา อมรรัตนานนท์ หัวหน้ากลุ่มงานเทคโนโลยี ก็ไม่พลาด มาร่วมพูดคุยแชร์ประสบการณ์การร่วมมือกับ AIS 5G ในการส่งอากาศยานไร้คนขับสุดเท่ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำหรับอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ ช่วยลดต้นทุนในการขนส่ง รวมถึงการบริหารจัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้หัวข้อพิเศษ “Leveraging Cross-Industry Collaboration and Ecosystem Partners to Drive Business Growth and Sustainability” มีประเด็นไฮไลต์น่าสนใจอะไรบ้าง สรุป 5 ข้อ ครบจบที่นี่แล้ว..!
1. สุดยอดฝีมือคนไทย ปลดล็อกโดรนฮอรัส (HORRUS)บินกว้าง บินไกลข้ามข้อจำกัด ด้วยเครือข่ายสัญญาณ 5G
ARV – AIS ผนึก 2 พลังความร่วมมือแบบ Cross Industry Collaboration ก้าวข้ามทุกขีดจำกัดเพื่อการพัฒนาแบบไม่มีที่สิ้นสุด โดยการผสมผสานความเชี่ยวชาญของ ARV ผู้นำด้านเทคโนโลยี AI และหุ่นยนต์กับ AIS เครือข่ายมือถืออันดับ 1 ที่มีสัญญาณ 5G เร็วที่สุดในไทย เพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยผลงานที่โดดเด่นที่ทีม ARV ได้วิจัยและพัฒนาขึ้นมาคือ เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับอัตโนมัติ หรือโดรนที่ชื่อว่า “ฮอรัส” (HORRUS) ซึ่งปกติจะทำงานอยู่บนคลื่นความถี่ 2.4GHz ที่เป็นคลื่นวิทยุ และสามารถปฏิบัติการบินในระยะพิสัยได้แค่ 6 กิโลเมตร แต่เมื่อได้ทำการทดสอบร่วมกับเครือข่าย AIS 5G ปรากฏว่าฮอรัส สามารถปลดล็อกข้อจำกัดบินไปได้ไกลกว่า 6 กิโลเมตร และด้วยเครือข่ายสัญญาณ 5G ทำให้โดรนฮอรัสเคลื่อนที่ไปยังจุดต่างๆ ได้กว้างมากขึ้น ไปได้ทุกที่ที่สัญญาณ 5G เข้าถึง
2. การปลดล็อกข้อจำกัด โดรน “ฮอรัส” ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานช่วยกรมทางหลวงวิเคราะห์ข้อมูลสภาพจราจร แจ้งอุบัติเหตุได้แบบเรียลไทม์
รู้ไหมว่า? การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้การทำงานข้ามสายอุตสาหกรรมแข็งแกร่งขึ้นได้เพราะจากการปลดล็อกข้อปฏิบัติการบินด้วยเครือข่ายสัญญาณ 5G ของ “ฮอรัส” (HORRUS) ซึ่งเป็นผลงานโดรนไร้คนขับอัตโนมัติครั้งแรกของเมืองไทย (Thailand 1st Fully Autonomated Drone Solution) และพัฒนาขึ้นจากเทคโนโลยี AI นั้น ทีม ARV ยังได้นำโดรนฮอรัสไปทำงานร่วมกับ ‘กรมทางหลวง’ เพื่อบินสำรวจสภาพจราจร
ที่หนาแน่นในช่วงเทศกาลปีใหม่ และเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา โดย ฮอรัส ทำหน้าที่ช่วยวิเคราะห์สภาพจราจรที่มีจุดแน่นหนา ถ่ายทอดสดวิดีโอสภาพการจราจรและหางแถวของรถ และหากจุดใดมีอุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดขึ้น ระบบจะทำการแจ้งเจ้าหน้าที่แบบเรียลไทม์ ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถเดินทางไปยังจุดนั้นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที
3. การต่อยอดโซลูชันโดรนไร้คนขับสู่ “LOGISTICS DRONE”สามารถขนส่งทางไกล และแบกรับพัสดุที่มีน้ำหนักสูงถึง 10 กก.
นอกจากโดรนฮอรัสที่โดดเด่นด้านการบินสำรวจแล้ว ทีม ARV ยังได้วิจัยและพัฒนา “โลจิสติกส์โดรน” (Logistics Drone) เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับเพื่อใช้งานในการขนส่งทางไกลโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถบรรทุกน้ำหนักสูงถึง 10 กิโลกรัม พร้อมทั้งบินขึ้น-ลง ในแนวดิ่งและทำความเร็วได้อย่างดี ในปีที่ผ่านมาโลจิสติกส์โดรนนี้ ได้รับการทำทดสอบในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่ศูนย์ทดสอบนวัตกรรมของ ปตท.สผ. ผ่านการจำลองสถานการณ์การบินขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางการแพทย์ พร้อมความมุ่งหวังว่า โลจิสติกส์โดรนนี้จะสามารถเพิ่มการบินในระยะวิสัยได้ไกลขึ้น และแบกรับน้ำหนักของพัสดุได้มากขึ้น
ทั้งนี้ มี 3 เทคโนโลยีหลักที่มาช่วยทำให้สำเร็จคือ 1. เครือสัญญาณ 5G จาก AIS ที่สามารถทำให้โดรนเคลื่อนที่ไปไหนก็ได้ ไปได้ในจุดที่เครือข่ายเข้าถึง 2. ระบบการจัดการจราจรระบบอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aircraft System Traffic Management: UTM) รองรับกรณีการใช้งานโลจิสติกส์โดรนหรือโดรนต่างๆ ในเชิงพาณิชย์ที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต ซึ่งสิ่งสำคัญที่เลี่ยงไม่ได้คือ การควบคุมการจราจรของอากาศยานไร้คนขับ
โดยปัจจุบัน ARV ได้เตรียมพร้อมในการทำแพลตฟอร์มขึ้นมารองรับนโยบายและการกำกับดูแลในการสร้างระบบนิเวศทางอากาศที่ปลอดภัยนี้แล้ว และ 3. เทคโนโลยี Edge Computing ที่เมื่อโดรนไร้คนขับอัตโนมัติทำงานแล้ว จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเองได้ หรือแม้กระทั่งในมุมออฟไลน์ หากเกิดสถานการณ์คับขันโดรนก็สามารถวิเคราะห์และตัดสินใจเองได้
4. การใช้จุดแข็งของ ARV ขยายขีดความสามารถเทคโนโลยี ทำงานลดความเสี่ยงให้มนุษย์
แม้ ARV จะเติบโตในธุรกิจปิโตรเลียม แต่ตั้งใจพัฒนาเทคโนโลยีไปใช้แก้ปัญหาให้ได้ทุกอุตสาหกรรม ในมุมต่างๆ เช่นกัน ซึ่ง ARV ยังได้พัฒนาหุ่นยนต์และโซลูชันต่างๆ เพื่อใช้ในเรื่อง PTTEP Offshore Operation Digitalization การปรับรูปแบบการทำงานของธุรกิจแม่อย่าง ปตท.สผ. โดย ARV ทำหุ่นยนต์เข้าไปช่วยลดความเสี่ยงในการใช้คนทำงานในพื้นที่นอกชายฝั่งที่มีความอันตราย และค่าใช้จ่ายสูง ไม่ว่าจะเป็น หุ่นยนต์ Wellhead ทำหน้าที่สำรวจบนแท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ โดรนฮอรัสและโลจิสติกส์โดรน หุ่นยนต์สี่ขา Laika ทำหน้าที่บนแท่นปฏิบัติการนอกชายฝั่ง แพลตฟอร์ม ARV พัฒนาเพื่อเชื่อมต่อหุ่นยนต์และการทำงานของคนและหุ่นยนต์ใต้ทะเล เช่น Xplorer (เอ็กซ์พลอเรอร์) หุ่นยนต์สำรวจท่อส่งปิโตรเลียมใต้ท้องทะเลลึก Nautilus (นอติลุส) หุ่นยนต์ซ่อมท่อใต้ทะเลตัวแรกของโลก เป็นต้น
5. เป้าหมายใหญ่ การเป็น Ventures Builder สร้างสตาร์ตอัปที่พัฒนา AI และหุ่นยนต์ ภายใต้ ARV
ในช่วงเวลา 5 ปี หลังก่อตั้ง ARV ซึ่งเป็นบริษัทลูกภายใต้กลุ่ม ปตท.สผ. ที่ริเริ่มมาจากกลุ่มคนที่สนใจในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีด้าน AI และหุ่นยนต์ สิ่งที่ ARV ตั้งใจพัฒนาต่อจากนี้ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น คือ การเป็น Ventures Builder ที่สร้างสตาร์ตอัปที่พัฒนาเทคโนโลยี AI และหุ่นยนต์ ภายใต้ ARV ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 6 สตาร์ตอัปพร้อมทั้งมีพนักงานราวๆ 400 คนแล้ว ได้แก่ 1. ROVULA (โรวูล่า) พัฒนาหุ่นยนต์ใต้ทะเล เพื่อใช้ในเรื่องการสำรวจและการซ่อมบำรุงท่อใต้น้ำ 2. SKYLLER (สไกเลอร์) พัฒนาเทคโนโลยีโดรนหรือหุ่นยนต์เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ และนำ AI มาวิเคราะห์ ในมุมของ Assistant maintenance 3. VARUNA (วรุณา) พัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตร (Agriculture Tech) และเทคโนโลยีที่ควบคุมหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Climate Technology) ผ่านการใช้ข้อมูลดาวเทียมมาวิเคราะห์เพื่อหาคาร์บอนที่กักเก็บอยู่ในป่าและเปลี่ยนเป็นคาร์บอนเครดิต 4. CARIVA (แคริว่า) พัฒนา Health Digital Solution ร่วมกับเทคโนโลยีด้าน AI เพื่อยกระดับการทำงานทางการแพทย์ในมุมของการวินิจฉัยและวิเคราะห์โรค 5. BIND (ไบนด์) พัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อพิสูจน์ และยืนยันตัวตน และทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ และ 6. BEDROCK (เบดร็อค) พัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีด้านโลเคชัน โดยใช้ข้อมูลในเชิงด้านภูมิศาสตร์สารสนเทศ เข้ามาวิเคราะห์ให้บริการในอุตสาหกรรม เช่น ปัจจุบันมีการให้บริการแพลตฟอร์มเรื่อง Smart City กับเทศบาลในประเทศไทย
“ในการพัฒนาเทคโนโลยีให้เกิดขึ้นจริงได้ ต้องอาศัย “คน” ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดดังนั้นเราจึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลบุคลากรให้ทำงานอย่างมีความสุข สร้าง Innovative Environment ที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาคนสายพันธุ์เทคที่มีความพร้อมทั้ง EQ และ IQ อาทิ ออฟฟิศเวิร์กช็อป พื้นที่ทดสอบนวัตกรรมต่างๆ ศูนย์เทคโนโลยี รวมถึงสถาบันวิจัย สถาบันศึกษา ห้องแล็บ ร่วมกับพาร์ตเนอร์ชั้นนำทางธุรกิจต่างๆ ARV เชื่อว่าถ้าเรามี Cross Industry Collaboration ที่ต่างเข้าใจปัญหาของผู้บริโภคและความต้องการของอุตสาหกรรมต่างๆ ก็จะสามารถก่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่นำไปสู่การใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้จริงๆ” คุณปฏิญญา กล่าวทิ้งท้าย