ฟอร์ติเน็ต แนะนำให้ประชาชนเปลี่ยนพลาสเวิร์ดบ่อยๆ ป้องกันภัยคุกคามจากอาชญากรไซเบอร์

Last updated: 19 มิ.ย. 2567  |  472 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ฟอร์ติเน็ต แนะนำให้ประชาชนเปลี่ยนพลาสเวิร์ดบ่อยๆ ป้องกันภัยคุกคามจากอาชญากรไซเบอร์

ฟอร์ติเน็ต ผู้นำด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลกที่ขับเคลื่อนการผสานรวมของระบบเน็ตเวิร์กกิ้งและซีเคียวริตี้ เผยผลวิจัยภัยคุกคาม  ครึ่งหลังปี 2023 พบว่าผู้โจมตีสามารถนำช่องโหว่ใหม่ๆ ที่มีการเปิดเผย ไปใช้โจมตีได้เร็วขึ้นถึง 43% เมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี 2023 เหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้จำหน่ายจะต้องทุ่มเทอย่างจริงจังเพื่อค้นหาช่องโหว่ในผลิตภัณฑ์ของตัวเอง และพัฒนาแก้ไขให้ได้ก่อนที่จะถูกโจมตีจริง (เพื่อลดกรณีการเกิดของช่องโหว่แบบซีโร่-เดย์) นอกจากนี้ ยังพบ 72% องค์กรไทยถูกโจมตีขโมยข้อมูลลูกค้าเพิ่มขึ้น ระบุอุตสาหกรรมที่โดนล้วงข้อมูลบ่อยคือเทคโนโลยี เฮลท์แคร์ โทรคมนาคม หน่วยงานรัฐ และโรงงานภาคการผลิต และการเพิ่มขึ้นของแรนซัมแวร์ที่เจาะจงเป้าหมายและกิจกรรมของมัลแวร์แบบไวเปอร์ ที่มุ่งทำลายข้อมูลในภาค OT และภาคอุตสาหกรรม

ประเด็นสำคัญที่พบในช่วงครึ่งหลังของปี 2023

·  การโจมตีเกิดขึ้นโดยเฉลี่ย 4.76 วันหลังจากมีการเปิดเผยช่องโหว่ใหม่สู่สาธารณะ เช่นเดียวกับ

·  ยังมีช่องโหว่ N-Day บางตัวที่ไม่ได้รับการแก้ไขแพตช์ (unpatched) นานเกิน 15 ปี ยังคงพบผู้โจมตีที่ใช้ช่องโหว่ที่มีอายุเกิน 15 ปีในการโจมตี

·  44% ของตัวอย่างแรนซัมแวร์ และมัลแวร์ ไวเปอร์ ทั้งหมดต่างมุ่งเป้าไปที่ภาคอุตสาหกรรม เซนเซอร์ทั้งหมดของฟอร์ติเน็ต มีการตรวจพบแรนซัมแวร์ลดลงถึง 70% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี 2023 โดยส่วนใหญ่เน้นที่อุตสาหกรรมหลัก ทั้งภาคพลังงาน เฮลธ์แคร์ การผลิต การขนส่งและโลจิสติกส์ ตลอดจนยานยนต์

·  เป็นที่สังเกตุว่ากลุ่มภัยคุกคามขั้นสูง หรือ Advanced Persistent Threat (APT) จำนวน 38 กลุ่มจาก 143 กลุ่มที่ระบุโดย MITRE ยังมีการเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2023 โดย FortiRecon ซึ่งเป็นบริการป้องกันความเสี่ยงทางดิจิทัลของฟอร์ติเน็ต ระบุว่ากลุ่มภัยคุกคาม 38 ใน 143 กลุ่มที่ MITRE ติดตามมีการเคลื่อนไหวในช่วงครึ่งหลังของปี 2023

·  การสนทนาบนเว็บมืด (Dark Web Discourse) รายงาน Global Threat Landscape Report ในช่วงครึ่งหลังของปี 2023 จาก FortiRecon ให้ภาพรวมการสนทนาระหว่างผู้ก่อการคุกคามในฟอรัมบนเว็บมืด มาร์เก็ตเพลส ช่องทาง Telegram ซึ่งเป็แอปพลิเคชันที่เผยแพร่ข้อมูลให้กับผู้ติดตามจำนวนมาก รวมถึงแหล่งข้อมูลอื่นๆ โดยข้อมูลที่พบมีดังต่อไปนี้

ผู้ก่อการคุกคามมักพูดคุยโดยพุ่งเป้าไปที่องค์กรภาคการเงินมากที่สุด ตามด้วยภาคธุรกิจบริการและภาคการศึกษา  มีการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกแชร์ไปตามฟอรัมดังๆ บนเว็บมืดมากกว่า 3,000 ครั้ง    มีการพูดคุยถึงช่องโหว่ 221 รายการอย่างจริงจังบนเว็บมืด (Darknet) อีกทั้งมีถกประเด็นเกี่ยวกับช่องโหว่ 237 รายการในช่องทาง Telegram
บัตรชำระเงิน (Payment Cards) กว่า 850,000 ใบ ถูกนำมาประกาศขาย

ด้าน ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต กล่าวว่า “ภาพรวมภัยคุกคามที่พัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในประเทศไทย ชี้ถึงความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแนวทางการรับมือ โดยใช้แพลตฟอร์มเป็นศูนย์กลางในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพราะโซลูชันแบบดั้งเดิมที่แยกส่วนกันทำงาน ไม่สามารถจัดการกับเทคโนโลยีหลากหลาย และโมเดลการทำงานแบบไฮบริด รวมถึงการผสานรวมของ IT/OT ที่เป็นลักษณะของเครือข่ายสมัยใหม่ได้  สำหรับแพลตฟอร์มของฟอร์ติเน็ตที่รวมการทำงานของเครือข่ายและความปลอดภัยไว้ด้วยกัน และขับเคลื่อนการทำงานด้วย AI ช่วยตอบโจทย์ความซับซ้อนในเรื่องนี้ได้ ให้การป้องกันภัยคุกคามได้อย่างครอบคลุม ช่วยจัดการช่องโหว่ได้แบบอัตโนมัติ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานได้ดียิ่งขึ้น กลยุทธ์แบบผสานรวมดังกล่าว นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและลดความซับซ้อนในการดำเนินงานแล้ว ยังช่วยให้มั่นใจว่า องค์กรจะสามารถปรับตัวเพื่อรับมือกับภัยคุกคามใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้อย่างแข็งแกร่งทั้งปัจจุบันและในอนาคต”

อย่างไรก็ตาม ภัยไซเบอร์อันดับ 1 ของไทยหรือภัยที่เกิดขึ้นบ่อย 5 อันดับแรกในปี 2023 ที่ผ่านมา คือภัยอีเมลลวงหรือฟิชชิ่ง และภัยที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลยืนยันตัวตน รองลงมาเป็นภัยเรียกค่าไถ่ข้อมูลหรือแรนซัมแวร์ ภัยที่มุ่งโจมตีเครื่องแม่ข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์ และภัยที่มุ่งโจมตีระบบ IoT

การพลิกสถานการณ์เพื่อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์ ประเด็นของการขยายพื้นที่การโจมตีต่อเนื่อง และการขาดแคลนทักษะด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในอุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาท้าทายสำหรับธุรกิจมากขึ้นกว่าที่ผ่านมาในการจัดการโครงสร้างพื้นฐานซับซ้อนที่ประกอบไปด้วยโซลูชันแตกต่างหลากหลายได้อย่างเหมาะสม โดยยังไม่รวมเรื่องการติดตามการแจ้งเตือนมากมายจากผลิตภัณฑ์แต่ละตัวให้ทัน รวมถึงกลยุทธ์ เทคนิคต่างๆ และขั้นตอนที่ผู้คุกคามใช้ในการโจมตีเหยื่อ


ดังนั้นการพลิกสถานการณ์เพื่อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์ ต้องอาศัยวัฒนธรรมด้านการร่วมมือ ความโปร่งใส และความรับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในสเกลที่ใหญ่กว่าการดูแลเฉพาะในองค์กรตนเท่านั้น ทุกองค์กรต่างมีบทบาทในการขัดขวางภัยคุกคามทางไซเบอร์ร่วมกัน การร่วมมือกับองค์กรชั้นนำที่เชื่อถือได้ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึง CERTs หน่วยงานรัฐบาล และสถาบันทางศึกษา คือพื้นฐานสำคัญที่ฟอร์ติเน็ตมุ่งมั่น เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเตรียมตัวและตอบสนองต่อภัยไซเบอร์ทั่วโลก

การพัฒนาด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องและความร่วมมือจากอุตสาหกรรม และกลุ่มทำงานต่างๆ เช่น กลุ่มพันธมิตร Cyber Threat Alliance กลุ่ม Network Resilience Coalition องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (Interpol) สภาเศรษฐกิจโลก (WEF) พันธมิตรต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์ (Partnership Against Cybercrime) และ Cybercrime Atlas ของ WEF จะช่วยปรับปรุงมาตรการป้องกันต่างๆ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งช่วยกันต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์ในระดับสากลได้

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้