เอ็นไอเอ ปลุกตลาดสตาร์ทอัพสายเกษตร นำ 10 นวัตกรรมพลิกโฉมเกษตรกรรม พืช ประมง - ปศุสัตว์ สู่วิถีใหม่ ผ่านโครงการ AgTech Connext 2024

Last updated: 28 พ.ย. 2567  |  44 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เอ็นไอเอ ปลุกตลาดสตาร์ทอัพสายเกษตร นำ 10 นวัตกรรมพลิกโฉมเกษตรกรรม  พืช  ประมง - ปศุสัตว์ สู่วิถีใหม่ ผ่านโครงการ AgTech Connext 2024

NIA ในฐานะหน่วยงานขับเคลื่อนระบบนิเวศนวัตกรรมของประเทศ ขานรับนโยบายเร่งด่วนด้านเกษตรของรัฐบาล ภายใต้แนวคิด “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” เปิดพื้นที่ให้ 10 สตาร์ทอัพสายเกษตรและเกษตรกร จาก “โครงการ AgTech Connext 2024” ร่วมนำเสนอผลการจับคู่ทดสอบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาด้านการเกษตรของประเทศไทย

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดเผยว่า  NIA เป็นหนึ่งในหน่วยงานหลักที่ส่งเสริมและพัฒนาสตาร์ทอัพให้เป็นนักรบทางเศรษฐกิจใหม่ โดยมีสตาร์ทอัพด้านการเกษตรเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่ต้องการพัฒนาให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและสร้างให้เกิดการเติบโต ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยแก้ปัญหาด้านการเกษตรของประเทศ ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย อีกทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนด้านการเกษตรของรัฐบาลที่ต้องการยกระดับการทำเกษตรแบบดั้งเดิมให้เป็นเกษตรทันสมัย ภายใต้แนวคิด “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” โดยตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา NIA ได้สร้างแพลตฟอร์มกลางเพื่อเชื่อมโยง ประสานงาน และขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนาสตาร์ทอัพด้านการเกษตร ผ่าน 3 แนวทางหลัก ได้แก่ 1. การระบุแนวโน้มนวัตกรรมการเกษตร โดยศึกษาแนวโน้มนวัตกรรมพลิกโฉมธุรกิจการเกษตรที่เหมาะสมกับบริบทการเกษตรของไทย 2. การพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมการเกษตร ผ่านกิจกรรมบ่มเพาะและเร่งสร้างสตาร์ทอัพด้านการเกษตร โดยมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และ  3. การสร้างการเติบโตของสตาร์ทอัพเกษตร เพื่อสนับสนุนเงินลงทุนเริ่มต้นสำหรับพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม และเชื่อมโยงไปสู่การขยายตลาด ระดมทุนกับนักลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ หรือออกสู่ตลาดต่างประเทศ


“NIA ในฐานะหน่วยงานขับเคลื่อนระบบนิเวศนวัตกรรมของประเทศ ภายใต้บทบาท “ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม (Focal Conductor)” ยังได้ริเริ่ม “โครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากสตาร์ทอัพด้านเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในภาคการเกษตร นำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน” หรือ “AgTech Connext” ขึ้น ตั้งแต่ปี 2564 ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน กลุ่มสตาร์ทอัพด้านพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมเกษตร และกลุ่มเกษตรกรเกิดการจับคู่ทดสอบการใช้งานจริง ตลอดจน “ภาคีเครือข่ายความร่วมมือโครงการ AgTech Connext” จำนวน 11 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานพัฒนาและสนับสนุนสตาร์ทอัพ ได้แก่ 1. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 2. สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หน่วยงานเชื่อมโยงเกษตรกรภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ 3. กรมส่งเสริมการเกษตร 4. กรมการข้าว 5. กรมประมง 6. กรมปศุสัตว์ 7. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 8. สภาเกษตรกรแห่งชาติ หน่วยงานสนับสนุนด้านเงินทุน ได้แก่ 9. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 10. บริษัท อินโนสเปรซ (ประเทศไทย) จำกัด   11. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย”

ทดสอบการใช้งานจริง ตลอดจนสร้างเป็น “ภาคีเครือข่ายความร่วมมือโครงการ AgTech Connext” จำนวน 11 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานพัฒนาและสนับสนุนสตาร์ทอัพ ได้แก่ 1. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 2. สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หน่วยงานเชื่อมโยงเกษตรกรภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ 3. กรมส่งเสริมการเกษตร 4. กรมการข้าว 5. กรมประมง 6. กรมปศุสัตว์ 7. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 8. สภาเกษตรกรแห่งชาติ หน่วยงานสนับสนุนด้านเงินทุน ได้แก่ 9. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 10. บริษัท อินโนสเปรซ (ประเทศไทย) จำกัด และหน่วยงานเชื่อมต่อกับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร
11. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย”

ดร.กริชผกา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกิจกรรมนำเสนอผลงานโครงการ AgTech Connext 2024 มีสตาร์ทอัพที่ผ่านการคัดเลือก 10 ราย ซึ่งสามารถแก้ปัญหาทั้งกลุ่มปศุสัตว์ ประมง และพืช ด้วยหลากหลายทางเทคโนโลยี ทั้งเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีดิจิทัล หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และผ่านการอบรมพัฒนาศักยภาพให้สตาร์ทอัพได้เข้าใจและเข้าถึงความต้องการของกลุ่มเกษตรกร รวมทั้งมีผู้เชี่ยวชาญให้ได้มีการทดสอบการใช้งานอย่างน้อย 5 กลุ่มเกษตรกร ดังนี้

·   กลุ่มปศุสัตว์ ที่เกี่ยวข้องกับโคนม ได้แก่ 1. เวทโนว่า ฟิล์มจุ่มเคลือบเต้านมโคนมจากธรรมชาติ เพื่อลดการอักเสบติดเชื้อและเพิ่มความชุ่มชื้น ราคาเทียบเท่ากับสารเคมีที่ใช้ในปัจจุบันและมีคุณภาพหลังการใช้งานถูกใจเกษตรกรชาวโคนม 2. มิสเตอร์เอ้ก ระบบตรวจสอบคุณภาพไข่ด้วยปัญญาประดิษฐ์ พร้อมตอบปัญหานี้ โดยออกแบบมาทั้งระบบเช่าเครื่องและเป็นสมาชิกรายเดือน

·  กลุ่มประมง ในกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ต้องจดบันทึกและการควบคุมคุณภาพต่างๆ ในบ่อเลี้ยง 3. อเดคนิค แพลตฟอร์มบริหารจัดการฟาร์มเลี้ยงกุ้งและปลา ด้วยระบบ IoT แจ้งเตือนภาวะวิกฤตป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ และ 4. ยูนิฟาร์ส สารเสริมชีวภาพที่มีฤทธิ์ทำลายเชื้อวิบริโอในการเพาะเลี้ยงกุ้งและเชื้อฟราโวแบคทีเรียในการเพาะเลี้ยงปลา ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมี

·   กลุ่มการปลูกพืช ดินจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการเพาะปลูกพืช 5. ไบโอม จุลินทรีย์คึกคักล้างสารพิษตกค้างในดินและเพิ่มผลผลิต ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ผ่านการคัดสรรมาพิเศษสำหรับการปรับคุณภาพของดินให้มีคุณภาพ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการปลูกพืช ในส่วนของโรคพืชที่ต้องใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อแก้ปัญหาอย่างตรงจุดและไม่ทิ้งสารตกค้าง 6. เพียวพลัส ผลิตภัณฑ์หัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช ที่ผ่านการปรับปรุงสายพันธุ์ด้วยลำแสงไอออนพลังงานต่ำที่มีประสิทธิภาพแก้ไขโรคในพืชสวน เช่น ทุเรียน ลำไย ยาง ได้ตรงความต้องการ และเมื่อมีสารชีวภัณฑ์ที่ดีต้องใช้ 7. โมรีน่า สารเสริมประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับพืชด้วยเทคโนโลยีนำส่งระดับนาโน โดยเริ่มต้นทดลองในกลุ่มผู้ปลูกทุเรียน ซึ่งได้ติดตามผลแก้ปัญหาโรคต่างๆ และสามารถฟื้นฟูต้นพร้อมออกลูกได้


·   กลุ่มสนับสนุนการเพาะปลูกพืช ปัญหาเรื่องแมลงเป็นปัญหากวนใจของชาวสวน 8. อินเซ็คโต้ กับดักแมลง
โซล่าเซลล์อัตโนมัติ ตัวช่วยเกษตรกรให้ทำงานได้ง่ายขึ้น สำหรับชาวสวนที่มีท้องร่อง ต้องรดน้ำเป็นประจำเช้าเย็น และหาแรงงานยาก 9. ริมโบติกส์ เรือรดน้ำอัตโนมัติไร้คนขับ ออกแบบและพัฒนาจากเกษตรกรที่เป็นวิศวกรจึงเข้าใจปัญหาได้อย่างตรงจุด และสุดท้ายระบบการเปิดปิดน้ำอัตโนมัติและช่วยควบคุมการทำงานที่ต้องติดตั้งยุ่งยาก 10. มีเทค ระบบ IoT Smart Farm ที่สามารถประกอบและติดตั้งด้วยตัวเอง ออกแบบมาให้เกษตรกรทำได้เองอย่างง่ายดาย ซึ่งจะเป็นตัวช่วยให้เกษตรกรบริหารจัดการฟาร์มได้ดียิ่งขึ้น

“ทั้งนี้ในปี 2568 NIA จะมุ่งเน้นเชื่อมโยงสตาร์ทอัพในการยกระดับกลุ่มอุตสาหกรรมข้าวกับกลุ่มเกษตรกร 50 กลุ่ม  ซึ่งเป็นการต่อยอดจากการทำแปลงนาสาธิต อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีดิจิทัลจาก สตาร์ทอัพด้านการเกษตร เพื่อยกระดับการปลูกข้าวตลอดห่วงโซ่มูลค่าอย่างยั่งยืน พร้อมเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และความเสี่ยงทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ”


นายเกียรติศักดิ์  พระวร ผู้ช่วยผู้จัดการสายงานพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. กล่าวว่า ธ.ก.ส. ในฐานะสถาบันการเงินที่ดำเนินภารกิจมุ่งเน้นเป็นแกนกลางการเกษตร (Essence of Agriculture) ดูแลพี่น้องเกษตรกรกว่า 4.7 ล้านครัวเรือน และสนับสนุนการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานภาคการเกษตรของไทยตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ดังนั้น ความร่วมมือและสนับสนุนโครงการ AgTech Connext จึงสอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจแก่องค์กรและลูกค้าด้วยนวัตกรรม ด้วยการขยายผลนวัตกรรมเกษตรสู่การใช้ประโยชน์ร่วมกับภาคีเครือข่ายภายนอก


สำหรับผลการตัดสินกิจกรรมครั้งนี้มีการมอบรางวัล The Best Performance AgTech Connext 2024 Award ให้กับสตาร์ทอัพเกษตรที่มีผลงานโดนเด่นในการพลิกโฉมธุรกิจการเกษตร โดยการตัดสินจากผลงานตลอดระยะเวลาโครงการและการนำเสนอต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยผู้ชนะเลิศได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท จาก ธ.ก.ส. ได้แก่ เพียวพลัส: ไบโอทรี ผลิตภัณฑ์หัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ไบโอม: จุลินทรีย์คึกคักล้างสารพิษตกค้างในดินและเพิ่มผลผลิต รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ อินเซ็คโต้: กับดักแมลงโซล่าเซลล์อัตโนมัติ และมิสเตอร์เอ้ก: ระบบตรวจสอบคุณภาพไข่ด้วยปัญญาประดิษฐ์ นอกจากนี้ยังมี รางวัล The Popular AgTech Connext 2024 Award ตัดสินจากผลการโหวตของผู้เข้าร่วมงาน พร้อมรับเงินรางวัล 10,000 บาท ได้แก่ เวทโนว่า: นวัตกรรมฟิล์มจุ่มเคลือบเต้านมโคนมจากธรรมชาติ เพื่อลดการอักเสบติดเชื้อและเพิ่มความชุ่มชื้น




 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้