กระทรวงแรงงานจับมือภาคเอกชน พัฒนาบุคลากรด้าน AI พร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นดิจิตอล

Last updated: 25 ธ.ค. 2567  |  61 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กระทรวงแรงงานจับมือภาคเอกชน พัฒนาบุคลากรด้าน AI พร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นดิจิตอล

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ได้กลายเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดและมีอิทธิพลต่อทุกภาคส่วน ตั้งแต่การทำงานในภาคธุรกิจ ไปจนถึงภาครัฐ การปรับตัวของหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐจึงเป็นเรื่องท้าทายที่จะก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


การพัฒนาบุคลากรในกระทรวงแรงงานโดยนำเทคโนโลยี AI มาใช้จึงมีความสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน แต่ยังช่วยปรับปรุงคุณภาพการให้บริการและการบริหารจัดการแรงงานได้อย่างมีประสิทธิผล การฝึกอบรมบุคลากรให้มีทักษะในการใช้ AI จึงเป็นการลงทุนที่สำคัญในอนาคตของกระทรวงแรงงานและประเทศชาติในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้.


นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในงานการประชาสัมพันธ์ด้านปัญญาประดิษฐ์และการนำไปใช้สำหรับบุคลากรภาครัฐ (Kick off Artificial Intelligence Literacy for Government officer) กล่าวว่า กระทรวงแรงงานกำลังเผชิญกับ ความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ของเทคโนโลยีดิจิทัลที่ปัจจุบันเข้ามามีบทบาทในการปฏิบัติงานของบุคลากรเป็นอย่างมาก ทำให้ต้องมีการปรับตัวและพัฒนาทักษะบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ตามนโยบายของกระทรวงแรงงาน เพื่อให้ก้าวทันต่อเทคโนโลยี ซึ่งกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้จับมือกับเอกชน ได้จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการทำงานของภาครัฐ และพัฒนาทักษะบุคลากรให้สามารถนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ไปใช้ในการทำงาน และยังทำให้ประเทศไทยสามารถดึงนักลงทุนเข้ามาได้

บทบาทของ AI Transformation และ วิสัยทัศน์ มุมมองผู้นำและการนำไปใข้ในองค์กร

จากการสัมมนาในหัวข้อ “ปรับเปลี่ยนกระทรวงแรงงานสู่ยุค AI Transformation” เพื่อปูพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับ AI สร้างทักษะการใช้งานเครื่องมือ AI และส่งเสริมการประยุกต์ใช้ AI จากผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ทั้งภาครัฐและเอกชนณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน  ได้แสงดมุมมองไว้อย่างน่าสนใจโดยเฉพาะ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์  ที่กล่าวว่า การนำ AI เข้ามาใช้แทนที่แรงงานนั้น  แรงงานจะต้องมีการปรับตัว  เพื่อให้ทันกับการก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิตอล ในส่วนของกระทรวงแรงงานซึ่งเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การทำงานของรัฐบาลและมีนโยบายในการขับเคลื่อนองค์กรด้วยการนำเทคโนโลยีด้าน AI  มาใช้ในการขับเคลื่อนองค์กร โดยเฉพาะด้านหลักประกันสังคมที่ต้องทำให้คนไทยมีงานทำ มีความปลอดภัย ภาครัฐคือกรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะบุคลากรตามเป้าหมายของกรมด้วยการ Up-Skill , Re-Skill จำนวน 5 ล้านคนโดยทำงานร่วมกับภาคเอกชน บริษัทไมโครซอฟ และในปีนี้มีแผนที่จะพัฒนาบุคลากรด้านดิจิตอลจำนวน 1 แสนคนทั้งปีในทุกระดับตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงระดับสูงซึ่งเริ่มดำเนินการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จำนวน 4 รุ่น รวมทั้งสิ้น 200 คน โดย รุ่นที่ 1 เดือนมกราคม รุ่นที่ 2 เดือนมีนาคม  รุ่นที่ 3 เดือนพฤษภาคม รุ่นที่ 4 เดือนมิถุนายน 2568  ผู้ผ่านการฝึกอบรมจะได้รับความรู้ใหม่ ๆด้าน AI ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและบริหารจัดการงานในภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


สำหรับภาคเอกชน สถานประกอบการควรตระหนักที่จะพัฒนาบุคลากรให้ทันกับโลกดิจิตอลและเป็นไปตามพรบ.ส่งเสริมพัฒนาฝีมือแรงงาน2545 กรมฯ ยังมีแผนการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จำนวน 4 รุ่น รวมทั้งสิ้น 200 คน โดย รุ่นที่ 1 เดือนมกราคม รุ่นที่ 2 เดือนมีนาคม  รุ่นที่ 3 เดือนพฤษภาคม รุ่นที่ 4 เดือนมิถุนายน 2568  ผู้ผ่านการฝึกอบรมจะได้รับความรู้ใหม่ ๆด้าน AI ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและบริหารจัดการงานในภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ในส่วนของภาคเอกชนได้ให้มุมมองว่าสถานการณ์ด้าน AI ชองโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปมากสิ่งสำคัญแรงงานจะต้องมีการปรับตัวมากขึ้น ด้วยการ Up-skill ให้มีความสามารถมากว่า AI เพราะในอนาคตถ้าแรงงานไม่มีการปรับตัว AI  จะเข้ามาทดแทนแรงงานได้  นอกจากนั้นยังให้มุมมองอีกว่าประเทศไทยไม่ได้ให้ความสำคัญกับแพลตฟอร์มมากนักมีแต่ของต่างประเทศ ดังนั้นภาครัฐควรเข้าควรทำแพลตฟอร์มด้าน AI  และเข้ามาดดูแล เพื่อรวบรวมข้อมูลที่สำคัญขององค์กรต่าง ๆ ให้มีความปลอดภัยมากขึ้น

 

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้