Last updated: 1 มี.ค. 2568 | 175 จำนวนผู้เข้าชม |
เมื่อพิจารณาแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2025 แล้วมีทั้งความท้าทายและโอกาส หลากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นทิศทางนโยบายของหลายธนาคาร ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ ความผันผวนของตลาดล้วนเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการลงทุนทั้งสิ้น จะเห็นว่าการลงทุน ในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่โดยเฉพาะพื้นที่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC ซึ่งเป็นโครงการสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปสู่อนาคต โดยเน้นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย ทำให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
(27 กพ. 2568) ที่ผ่านมา สกพอ. หรืออีอีซี ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลง(MOU) กับ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ เพื่อดึงดูดการลงทุนระดับโลก สู่พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และยกระดับประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมมูลค่าสูง โดยจะเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงนักลงทุนซึ่งไม่จำกัดอยู่เพียงในระดับภูมิภาค แต่ยังรวมถึงนักลงทุนระดับโลกในระเบียงเศรษฐกิจที่สำคัญ ผ่านเครือข่ายระดับนานาชาติของธนาคารเอชเอสบีซีใน 58 ประเทศและเขตดินแดน สร้างโอกาสการลงทุนจากตลาดสำคัญ อาทิ จีน ยุโรป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกกลาง อินเดีย ไต้หวัน และญี่ปุ่น โดยจะมุ่งพัฒนากลยุทธ์ดึงดูดการลงทุนสู่พื้นที่อีอีซี พร้อมให้การสนับสนุนด้านโซลูชันทางการเงิน และคำปรึกษาครบวงจร เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการลงทุนจากทั่วโลก โดยทั้งสององค์กร มีเป้าหมายที่จะสนับสนุน สกพอ.ในการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจริงในพื้นที่รวม 5 แสนล้านบาท ภายใน 5 ปี พร้อมขับเคลื่อนการเติบโตในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สำคัญ 5 คลัสเตอร์ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ อุตสาหกรรมสีเขียว BCG และอุตสาหกรรมบริการ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของไทยในการเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานของโลก
ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการ อีอีซี กล่าวถึงภาพรวม ด้านกลยุทธ์ของอีอีซีในการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ โดยการลงทุนตรงหรือ(FDI) คือรากฐานสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจไทย และ “เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ถือเป็นแนวหน้าที่สำคัญในการส่งเสริมการลงทุนของประเทศโดย สกพอ.ให้ความสำคัญกับ 5 กลุ่มอุตสาหกรรมหลักได้แก่ อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ ดิจิทัล ยานยนต์แห่งอนาคต เศรษฐกิจบีซีจีและบริการเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม การลงทุนจากต่างประเทศมีความสำคัญต่อการเติบโตของอีอีซี
ดังนั้นสกพอ. จึงให้ความสำคัญกับการขยายขีดความสามารถด้านการลงทุนให้เข้าถึงกลุ่มนักลงทุนในระดับโลกซึ่งความร่วมมือกับธนาคารที่มีความเชี่ยวชาญและมีเครือข่ายครอบคลุม 58 ประเทศและเขตดินแดนทั่วโลกอย่างธนาคาร HSBCในครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้กับสกพอ. ได้เข้าถึงฐานลูกค้าระดับโลกของธนาคารซึ่งครอบคลุมหลากหลายอุตสาหกรรมและเขตเศรษฐกิจสำคัญ อีกทั้งยังเข้ามาสนับสนุนด้านการนำเสนอโซลูชั่นทางการเงินที่ครบวงจรให้แก่นักลงทุนที่จะเข้ามายกระดับอุตสาหกรรมในประเทศให้ตอบรับกับแนวโน้มของตลาดโลกนั่นเองและตอกย้ำบทบาทของอีอีซีในฐานะจุดหมายของการลงทุนชั้นนำสำหรับอุตสาหกรรมมูลค่าสูงในระดับภูมิภาค” ดร.จุฬา กล่าวเสริม
ความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยเปิดโอกาสให้กับประเทศทไทย
นายจอร์โจ กัมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและหัวหน้ากลุ่มลูกค้าธุรกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย กล่าวถึงการลงนามข้อตกลงในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนจากทั่วโลกในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)ของประเทศไทยและเสริมสร้างสถานะของประเทศให้เป็นศูนย์กลางสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมมูลค่าสูง
HSBC เรามุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศไทยและยังคงมุ่งมั่นในพันธกิจนั้นมาอย่างยาวนานในฐานะธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของประเทศและธนาคารระหว่างประเทศที่ดีที่สุดของไทยที่ได้รับการยอมรับจาก Euromoneyและ Finance Asia เป็นเวลา 4 ปีติดต่อกัน ซึ่งเราเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจไทยมาเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 136 ปี ประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านการแข่งขันของไทยภูมิทัศน์การลงทุนโลกด้วยตำแหน่งที่ตั้งเชิงยุทธศาสตร์ใจกลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และระบ Eco Systemที่ได้รับการพัฒนาเป็นอย่างดีทำให้ประเทศทไทยกำลังก้าวขึ้นเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักลงทุนทั่วโลก
ซึ่งในปี 2567 ประเทศไทยมีการอนุมัติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือ(FDI) มูลค่ากว่า 727,000 ล้านบาทซึ่งถือเป็นมูลค่าสูงสุดในรอบ 20 ปี โดยอีอีซียังคงเป็นศูนย์กลางของแนวโน้มการเติบโตนี้โดยคิดเป็น 78 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งหมด เป็นการลงทุนในพื้นที่อีอีซี (ราว 5.68 แสนล้านบาท) สะท้อนถึงบทบาทของอีอีซีในฐานะแรงขับเคลื่อนหลักของกลยุทธ์การลงทุนของประเทศไทย โดยอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุด ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (2.56 แสนล้านบาท) อุตสาหกรรมดิจิทัล (9.5 หมื่นล้านบาท) และยานยนต์แห่งอนาคต (8.7 หมื่นล้านบาท)” เป็นการลงทุนในพื้นที่อีอีซี (ราว 5.68 แสนล้านบาท) สะท้อนถึงบทบาทของอีอีซีในฐานะแรงขับเคลื่อนหลักของกลยุทธ์การลงทุนของประเทศไทย โดยอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุด ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (2.56 แสนล้านบาท) อุตสาหกรรมดิจิทัล (9.5 หมื่นล้านบาท) และยานยนต์แห่งอนาคต (8.7 หมื่นล้านบาท)”
ข้อตอกย้ำบทบาทของ EEC ในฐานะตัวขับเคลื่อนหลักกลยุทธ์การลงทุนของไทย
ในปี 2567 สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวโดยอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนสูงสุดได้แก่ อุตสหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โทรนิคอัจฉะริยะ ยานยนต์ยุคใหม่ เชื้อเพลิงชีวภาพ ชีวเคมีและการแปรรูปอาหาร ต่างก็ติด 5 อันดับแรก ขณะที่ประเทศทไทยได้เสริมสร้างสถานะของตนในอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงเหล่านี้ และยังได้รับประโยชน์ต่อการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างของกระแสการลงทุนโลกด้วย บริษัทต่างชาติไม่เพียงแต่เลือกประเทศไทยเพราะข้อได้เปรียบในประเทศเท่านั้นแต่ยังเป็นประตูยุทธศาสตร์สู่ภูมิภาคอาเซียนที่กว้างขึ้นอีกด้วย
ธนาคารเอชเอสบีซี เล็งเห็นถึง แนวโน้มความสนใจของธุรกิจจีนในการขยายกิจการสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากจำนวนขององค์กรธุรกิจจีนที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในอาเซียนผ่านเครือข่ายของธนาคารในปี 2566 ที่เพิ่มขึ้น 80% จากปีก่อนหน้า โดยประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในจุดหมายการลงทุนที่สำคัญ ทั้งนี้ แม้การลงทุนจากประเทศจีนจะครอบคลุมหลากหลายอุตสาหกรรม แต่อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงที่สุด คือ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีมูลค่ารวมนับตั้งแต่ปี 2561 จนถึงไตรมาสสามปี 2567 ราว 2.75 แสนล้านบาท โดยล่าสุด สกพอ.ยังได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือด้านการลงทุนในเศรษฐกิจดิจิทัลที่หลากหลายยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ในปี 2568 เราจะสนับสนุนโครงการโรดโชว์การลงทุนตลาดต่างประเทศ อินเดีย และตะวันออกกลาง ยังถือเป็นระเบียงการลงทุนที่มีศักยภาพสูงสำหรับประเทศไทยอีกด้วย ขณะที่ประเทศไทยยังคงเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าทวิภาคีกับภูมิภาคเหล่านี้ก่อให้เกิดเส้นทางใหม่ๆ สำหรับการลงทุนในระยะยาว ความร่วมมือครั้งนี้เพื่อสนับสนุนเป้าหมาย 5 ปี ของอีอีซี ในการดึงดูดการลงทุนมูลค่า 5 แสนล้านบาทมายังประเทศไทยโดยเน้นที่อุตสาหกรรมมูลค่าสูงเพื่อเสริมสร้างการบูรณาการห่วงโซ่อุปทานระดับโลกได้แก่ การแพทย์และสุขภาพ ดิจิทับ ยานยนต์แห่งอนาคต เศรษฐกิจบีซีจี และบริการรวมถึงเกษตรกรรมขึ้นสูงการบินและอวกาศ และโลจิสติกส์
“เอชเอสบีซี จะอาศัยความเชี่ยวชาญของธนาคารฯ ด้วยการเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกในประเทศไทยและได้รับการยอมรับในฐานะธนาคารระหว่างประเทศที่ดีที่สุดในไทยจาก Euromoney และ FinanceAsia เป็นเวลา 4 ปีติดต่อกัน ในการเชื่อมโยงการลงทุนระหว่างประเทศ เข้ามาสนับสนุน สกพอ. ในการเข้าถึงกลุ่มนักลงทุนจากทั่วโลก โดยเฉพาะจากระเบียงเศรษฐกิจสำคัญที่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย ผ่านการนำเสนอโซลูชันด้านการเงินที่ครบวงจร อำนวยความสะดวกในการเริ่มดำเนินธุรกิจ และเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการลงทุน เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือกับ สกพอ. ในครั้งนี้จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดึงดูดการลงทุนจากทั่วโลก กระตุ้นการจ้างงานทักษะสูง และบรรลุเป้าหมายในการเสริมศักยภาพในการแข่งขันในระดับนานาชาติ ตลอดจนเสริมความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของไทยต่อไปในอนาคต” นายกัมบา กล่าว