ท่ามกลางวิกฤต PM2.5 มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า ‘การเผาไหม้’ หรือไม่

Last updated: 22 เม.ย 2566  |  159 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ท่ามกลางวิกฤต PM2.5 มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า ‘การเผาไหม้’ หรือไม่

เมื่อถึง ‘วันคุ้มครองโลก’ หรือ Earth Day เราต่างก็เริ่มนึกย้อนไปถึงผลกระทบของการกระทำต่างๆ ของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและท้ายที่สุดก็กลับมามีผลกระทบต่อสุขภาพของเรามากยิ่งขึ้น

วันคุ้มครองโลกในปีนี้เป็นประเด็นที่คนไทยให้ความสนใจอย่างมาก เนื่องจากสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน ที่ยังคงมีการเผาป่าเผาไร่เพื่อการทำการเกษตรอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศและก่อให้เกิดฝุ่นควันหรือที่รู้จักกันในชื่อ PM2.5 คนไทยจำนวนมากล้มป่วยจากโรคระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อทัศนวิสัยและวิถีการใช้ชีวิต ซึ่งนำมาสู่คำถามที่สำคัญที่สุดคือ ‘การเผาจำเป็นหรือไม่’ แล้วเรามีวิธีที่ ‘อันตรายน้อยกว่าการเผา’ ที่จะช่วยให้เราสามารถดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กับ ช่วยลดความเสี่ยงต่อสุขภาพจากภัยจากการเผาไหม้ให้กับประชาชนนับล้านคนทั่วประเทศไทยหรือไม่?

คำตอบคือ ‘มี’ และเราทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของพลเมืองของประเทศไทยได้ด้วย

เหล่านักจัดสวนคงจะทราบดีว่าการปลูกพืชให้เขียวขจีและสวนที่มีชีวิตชีวานั้นเริ่มจากดิน เพราะดินคือองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในการหล่อเลี้ยงต้นกล้าให้มีดอกและใบที่สมบูรณ์สวยงาม ซึ่งความหมายของคำว่า ‘ดินดี’ ในที่นี้คือดินที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืช โดยดินดีเพียง 1 กรัม (หรือประมาณ 1/4 ช้อนโต๊ะ) สามารถรองรับสิ่งมีชีวิตได้มากถึง 10 พันล้านตัว

ในวัฏจักรที่สมบูรณ์แบบ การสลายตัวของสสารจากพืชที่ตายไปเมื่อก่อนหน้าเป็นตัวการที่ขับเคลื่อนการเจริญเติบโตในฤดูกาลถัดๆ ไป และเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน ชาวบ้านที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเกษตรใช้วิธีการทำปุ๋ยจากเศษอาหารในครัวเรือนและของเสียจากสวนเพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชผล ซึ่งการทำปุ๋ยอินทรีย์ หรือ ปุ๋ยหมักนั้นเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับสิ่งแวดล้อมในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านผลประโยชน์ต่อพืชและต่อสิ่งแวดล้อม หรือในด้านของการช่วยลดขยะชุมชนและช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์จากการบำบัดของเสีย นอกจากนี้ ดินที่ผ่านการบำบัดด้วยปุ๋ยหมักนั้นต้องการการชลประทานน้อยกว่าและยังไม่ต้องใช้ปุ๋ยอนินทรีย์อีกด้วย

การทำปุ๋ยหมักเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการเผาไร่และของเสียจากสวน เพราะเมื่อเราเผาของเสียจากสวน เราไม่เพียงสูญเสียคุณค่าทางสารอาหารในดิน แต่ยังเป็นการสร้างควันเพิ่มอีกด้วย นอกจากนี้ กลิ่นควันไฟจากการเผาไหม้มีความเหม็นซึ่งมีผลกระทบสำหรับทั้งตัวเราเองและเพื่อนบ้าน ที่สำคัญไปกว่าคือการเผาของสารประกอบอินทรีย์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเผาในสวนหรือที่อื่น ยังก่อให้เกิดสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วย

คำถามถัดไปคือ นอกจากการเผาไหม้ใบไม้แล้ว มีการเผาไหม้อะไรอีกที่ไม่จำเป็นและก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

คำตอบคือการเผาไหม้ของใบยาสูบในบุหรี่

ในบุหรี่ 1 มวน เมื่อเกิดการเผาไหม้จะทำให้เกิดสารเคมีมากกว่า 6,000 ชนิด โดยมีสารหลายชนิดที่มีผลต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย การสูดสารเคมีที่เป็นอันตรายเหล่านี้ในควันบุหรี่คือสาเหตุหลักของโรคร้ายแรงที่เกิดจากการสูบบุหรี่

ในทางเดียวกันกับที่เราสามารถจัดการกับของเสียทางเกษตรด้วยการใช้วิธีที่เป็นอันตรายน้อยกว่า มีวิธีต่าง ๆ ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงของผู้สูบบุหรี่ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายน้อยกว่าสำหรับผู้สูบบุหรี่จำนวนกว่า 9.9 ล้านคนในประเทศไทย เช่นบุหรี่ไฟฟ้า เพราะเราควรมีทางเลือกเพื่อช่วยลดอันตรายสำหรับคนที่ยังไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้ เช่นเดียวกับที่เรามีทางเลือกที่ดีกว่าการเผาป่าเผาไร่

ถึงเวลาแล้วที่การตระหนักถึงความสำคัญของ‘วันคุ้มครองโลก’ หรือ Earth Day ควรไปให้ไกลเกินกว่าการรณรงค์ให้หยุดเผาป่าเผาไร่ แต่ควรเป็นการหยุดการสร้างควันไฟทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นการเลิกจุดบุหรี่ หรือแม้แต่การลดการเผาการสันดาปของรถยนต์ที่พ่นควันดำจากท่อไอเสีย ที่ทุกวันนี้เราก็เห็นรถยนต์นวัตกรรมใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์รักษ์โลกและลดอันตรายเยอะแยะเต็มไปหมด เหลือแต่ความตระหนักและการกำหนดนโยบายของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างหากที่จะพิสูจน์ว่า การ “คุ้มครองโลก” เป็นจริงได้แค่ไหน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้