"SOCIAL WARS 2023" ม.หอการค้าไทย เตรียมติดอาวุธ ปั้นนักธุรกิจออนไลน์ สู่อนาคตการค้าดิจิทัล

Last updated: 29 ก.ย. 2566  |  475 จำนวนผู้เข้าชม  | 

"SOCIAL WARS 2023"  ม.หอการค้าไทย เตรียมติดอาวุธ ปั้นนักธุรกิจออนไลน์ สู่อนาคตการค้าดิจิทัล

สังคมโลกเราทุกวันนี้มีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการทำธุรกิจ ในหลายธุรกิจที่หากไม่มีการปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์ความเป็นไปต่างๆ ธุรกิจนั้นอาจต้องล่มสลายเลิกร้างกิจการไปในที่สุด “โลกเปลี่ยน คนปรับ” จึงเป็นคำกล่าวเตือนสติให้กับทุกภาคส่วนธุรกิจได้ยึดมั่นเพื่อให้ธุรกิจนั้นๆ อยู่รอดอย่างยั่งยืน ประกอบกับปัจจุบันมีเครื่องมือเทคโนโลยีที่ทันสมัยหลายรูปแบบและมีช่องทางการตลาดที่สามารถทำให้ธุรกิจที่เคยคาดว่าจะไปไม่รอด ได้พลิกฟื้นคืนสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนและมั่นคงได้อีกครั้ง

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC ) ตระหนักถึงความจำเป็นสำคัญของสถานการณ์นี้อย่างยิ่งยวด โดยล่าสุดได้จัดงานแถลงข่าว Social Wars 2023 และเตรียมพร้อมจะจัดสัมมนาครั้งยิ่งใหญ่ ภายใต้ชื่อ SOCIAL WARS 2023 “ เตรียมความพร้อมนักธุรกิจออนไลน์ พร้อมสู่อนาคต FUTURE READINESS” ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ 

รองศาสตราจารย์ ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงเทรนด์ธุรกิจผ่านออนไลน์ว่า “E-Commerce ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ยังคงเป็นที่น่าจับตามองในมุมมองของนักธุรกิจรวมถึงนักเศรษฐศาสตร์ เพราะตลาด E-Commerce ทั่วโลกมีการเติบโตสูง ซึ่ง Forbes คาดการณ์ว่า 20.8% ของการซื้อขายสินค้าจะเกิดทางช่องทางออนไลน์ รวมไปถึงตัวเลข 91% ที่ชี้ว่าการซื้อขายออนไลน์จะเกิดขึ้นบนโทรศัพท์มือถือ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรให้ความสำคัญกับแพลตฟอร์มที่ใช้งานได้ง่ายบน Mobile Commerce เพราะมีการคาดว่าจะมีมูลค่าสูงกว่า 7 แสนล้านดอลล่าร์ ภายในปี 2025 นี่คือตัวเลขในระดับโลก

"ผมคิดว่าธุรกิจ E-Commerce มีข้อดีที่น่าสนใจ ประกอบด้วย การขยายตัวและสร้างชื่อในตลาดต่างประเทศทำได้ง่ายขึ้นและง่ายในการหาสภาวะทางการตลาดของสินค้าใหม่ ที่ ‘เจอกลุ่มเป้าหมายที่ใช่ – และมีจำนวนมากพอ’ E-Commerce เป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญมากในการขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ในยุคดิจิทัล ซึ่งผมมีข้อมูลใน 4 ประเด็นที่ผู้ประกอบการยุคดิจิทัลต้องรู้มาแชร์ คือ 1) ทุกวันนี้ Gen Z กำลังตีตื้น Gen Y ขึ้นมาในแง่การใช้งานโซเชียลมีเดีย Gen Z ตอนนี้อยู่บนโลกของ TikTok อยู่บนโลกของสตอรี่ ไม่ชอบการเห็นโฆษณาออนไลน์ที่มาแบบจงใจ ซึ่งคนทั้ง 2 รุ่นที่แตกต่างกันต่างก็อยู่ในโลกออนไลน์เช่นเดียวกัน เพียงแค่คนกลุ่ม Gen Y ยังเปิดรับอินฟลูเอนเซอร์ รวมถึงยังเปิดใจให้โฆษณาออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ ดังนั้น ผู้ประกอบการเพียงต้องรู้จักกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง ว่าเป็นคนกลุ่มไหน และมีพฤติกรรมบนโลกโซเชียลอย่างไร Forbes คาดการณ์ว่า ในปี 2023 ยอดขายบนโซเชียลมีเดียทั่วโลกจะสูงถึง 1,298 ล้านดอลล่าร์ และจะสูงขึ้นเรื่อย 2) TikTok กำลังโตแบบก้าวกระโดดที่เกือบจะกลายเป็นตัวท็อปแล้ว ยกตัวอย่าง ในสหรัฐอเมริกา มี Gen Z ใช้งาน TikTok 45.8 ล้านคน มากกว่า IG ที่มี Gen Z ใช้งาน 45.5 ล้านคน และ Facebook 30.9 ล้านคน จึงคาดการณ์ได้ว่า TikTok จะยังคงเป็นตัวที่กำหนดเทรนด์ต่างๆ สำหรับคนรุ่นใหม่ 3) ถึงแม้ว่า คนรุ่นใหม่จะหันมาใช้ TikTok กันมากขึ้น แต่นักการตลาดและผู้ประกอบการยังพึ่งพาโฆษณาบน Facebook และ IG นั่นหมายความว่า เป็นโอกาสของนักโฆษณาที่จะทดลองเทคนิคโฆษณาใหม่ๆ บน TikTok และ YouTube 4) ยุคนี้ต้องอินฟลูเอนเซอร์เท่านั้น เทรนด์สำหรับการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ ยังคงนำหน้าการทำโฆษณาบนโซเชียลมีเดียเพราะมีความน่าเชื่อถือกว่าโฆษณา ยิ่งหากผู้ที่เป็นอินฟลูเอนเซอร์นั้นมีความน่าเชื่อถือ

แนวโน้มของตลาด E-Commerce ในไทย การให้บริการอินเทอร์เน็ตครอบคลุมยิ่งขึ้น ผ่านทางการใช้สมาร์ทโฟน ระบบโลจิสติกส์และระบบ e-payment เป็นแรงขับสำคัญสำหรับ E-Commerce ซึ่ง EIU หรือ Economic Intelligence Unit ประมาณการว่า อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตต่อ 100 คนในประเทศไทย จะเพิ่มขึ้นจาก 75.1 ในปี 2020 เป็น 81.5 ภายในสิ้นปี 2025 และจำนวนผู้ใช้บอร์ดแบนด์ก็ยังคงเพิ่มขึ้น คนใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้นช่วงที่โควิด-19 ระบาด นำไปสู่พฤติกรรมที่ใกล้ชิดโลกดิจิทัลมากขึ้น ไม่ว่าจะเพื่อการพูดคุย ความบันเทิง การทำงาน การเรียนและการซื้อของจากLazada ที่เป็นเจ้าตลาด E-Commerce แต่กำลังถูก Shopee ไล่ตามมาอย่างน่าตื่นเต้น ในอนาคตจึงยากที่จะคาดการณ์ได้ว่าใครจะเป็นเจ้าของมาร์เก็ตแชร์ของ E-Commerce ในไทยโดยแพลตฟอร์มที่จะมีบทบาทสำคัญในตลาดนี้ จะเป็น E-Commerce ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งมีข้อมูลว่าคนไทยช้อปอะไรบ้างบนโลกออนไลน์ในแต่ละสัปดาห์ พบว่า 68.3% ซื้อสินค้าและบริการต่างๆ 45.8% ซื้อผัก ผลไม้และของชำต่างๆ 16.8% ซื้อสินค้ามือสอง 27.2% ใช้เว็บไซต์ที่มีฟังก์ชั่นช่วยในการเปรียบเทียบราคา 26.4% ใช้วิธีซื้อก่อนจ่ายทีหลัง โดยมี 5 เหตุผลที่คนไทยช้อปปิ้งออนไลน์ ได้แก่ 1) ส่งฟรี 2) มีคูปองและโปรโมชั่นลดราคา 3) มีบริการเก็บเงินปลายทาง 4) มีรีวิวจากลูกค้าจริง 5) ดูยอดไลค์และได้อ่านคอมเมนท์บนโซเชียลมีเดีย ในประเทศไทย มีผู้ซื้อสินค้าบน E-Commerce แพลตฟอร์ม 36.6 ล้านคน และใช้จ่ายราวๆ คนละประมาณ 18,000 บาท ในปี 2021 และในคนจำนวนนี้มีถึง 65% ที่ซื้อสินค้าผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ทั้งหมดนี้คือเหตุผลที่อีทัชและมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ตั้งใจจัดโครงการ Social Wars เพื่อติดอาวุธอันทรงพลังให้แก่ผู้ประกอบการทุกท่านที่ต้องการเติบโตและก้าวสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนในโลกการค้าดิจิทัลนั่นเอง”

ดร.พันธิตรา ปัทมานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดี และรักษาการประธานกรรมการบริหาร บริษัท อีทัช จำกัด กล่าวว่า บริษัท อีทัช มุ่งมั่นในการเป็นผู้ผลักดันให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยและผู้ประกอบการไทย ให้มีศักยภาพในการค้าขายแบบออนไลน์ในทุกช่องทางตามความเหมาะสมของแต่ละธุรกิจ ผ่านการให้คำแนะนำ การอบรมและการจัดกิจกรรมที่จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่กำลังทำธุรกิจค้าขายออนไลน์หรือกำลังคิดที่จะก้าวเข้ามาสู่ตลาดออนไลน์ จากการเป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย บริษัท อีทัช จึงมุ่งเน้นที่ความสำเร็จของผู้ประกอบการเป็นหลัก มากกว่าที่จะสร้างกำไรให้แก่ตนเอง ทำให้การทำงานของบริษัท อีทัช มีความเป็นกลางสูง ยึดถือเอาผลประโยชน์ของธุรกิจที่ร่วมอบรมเป็นหลัก โดยจะแนะนำทางเลือกที่เหมาะสมกับแต่ละองค์กรที่มีลักษณะและศักยภาพแตกต่างกันออกไป และรายได้ส่วนหนึ่งของโครงการนี้จะนำไปเป็นทุนสตาร์ทอัพให้กับนักศึกษาที่มีความสนใจในการทำธุรกิจ E-Commerce

คุณอรรคพล หยกยิ่งยง ประธานกรรมการ บริษัท โฮปฟูล จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแบรนด์โฮปฟูลและเจ้าของรางวัล “บุคคลคุณภาพแห่งปี 2020” (Quality Persons of the Year 2020) โดยมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.) กล่าวว่า “ผมและแบรนด์โฮปฟูล ทำธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เบต้าแคล สูตรพลัส (BETACAL+) และ เบต้าเฮิร์บ (BETAHERB) ที่มุ่งหวังอยากให้คนไทยมีชีวิตที่ดี โดยเริ่มต้นการดูแลสุขภาพจากภายใน ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจให้บรรลุผลสำเร็จตามชื่อโฮปฟูล คือ ความหวังของการมีชีวิตที่ดี การได้ช่วยเหลือสังคม

"ผมตระหนักดีว่าปัจจุบันการซื้อขายออนไลน์มีความสำคัญและตอบโจทย์ตรงใจผู้บริโภค การดำเนินธุรกิจจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของแบรนด์โฮปฟูลก็พัฒนามาเป็นการ ‘รุกตลาดสุขภาพออนไลน์’ และเรายังมีพรีเซ็นเตอร์มาแนะนำผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างการรับรู้ที่มีต่อแบรนด์และผลิตภัณฑ์ คือ คุณมนตรี เจนอักษร และ คุณบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ เสมือนเป็นอินฟลูเอนเซอร์ในยุคนี้ที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์โฮปฟูลได้อย่างมาก หรือแม้กระทั่งการที่โฮปฟูลรุกตลาดคนรักสุขภาพโดยการมี คุณก็อต จิรายุ เป็นพรีเซนเตอร์ที่ทรงพลังความน่าเชื่อถือ ซึ่งคุณก็อตมีทัศนคติด้านบวกในการดูแลตัวเองและในการใช้ชีวิตที่ดี เหมาะสมในการที่จะเป็นตัวอย่างต้นแบบของคนยุคใหม่ที่รักสุขภาพ ตรงกับแนวคิดของแบรนด์โฮปฟูล เพราะสุขภาพของคุณ คือความสุขของเรา”

โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คนเราก็ต้องปรับตัวให้เปลี่ยนตามเพื่อการอยู่รอด เช่นเดียวกับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันที่นอกจากจะมีอาศัยชื่อเสียงความแข็งแกร่งและสายป่านเครือข่ายแล้ว เครื่องมือเทคโนโลยีและช่องทางการตลาดที่ทันสมัยก็นับเป็นปัจจัยหลักที่ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องนำไปปรับเลือกใช้ว่า ช่องทางใดเจ๋งสุด ปังที่สุดในยุคนี้ หากยังกังวลสงสัย งานนี้มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำด้านธุรกิจแห่งแรกในประเทศไทย พร้อมจะนำทางและไขกุญแจสู่ประตูการทำธุรกิจ ในงาน “Social Wars 2023” เตรียมความพร้อมนักธุรกิจออนไลน์พร้อมสู่อนาคต พลิกมุมมอง เปิดทุกเทคนิค เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจที่แตกต่างและอยู่รอดต่อทุกการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน ถ้าคุณคิดว่าสิ่งนี้สำคัญ! พบกันในงาน “Social Wars 2023” 12 พฤศจิกายน ศกนี้ ณ ไบเทค บางนา กรุงเทพฯ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้