จับตา 3 เทรนด์ธุรกิจโตแรงปี 2025: AI - Green Tech - FinTech สตาร์ทอัพไทยพร้อมลุยตลาดโลก

Last updated: 31 ม.ค. 2568  |  36 จำนวนผู้เข้าชม  | 

NIA

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เผยภาพรวมการเติบโตของสตาร์ทอัพไทย ปี 2024พบมีอัตราเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยมีการเติบโตสะสมเพิ่มถึงร้อยละ 3.3 นับตั้งแต่ปี 2021และประเทศไทยยังเป็นเมืองที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพแห่งหนึ่งของโลก ทั้งนี้ปี 2025ถือเป็นปีแห่งความท้าทายของธุรกิจสตาร์ทอัพจากทั้งความผันผวนทางเศรษฐกิจพฤติกรรมการบริโภค และคลื่นเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยกลุ่มเทคโนโลยีที่มีโอกาสและศักยภาพในการเติบโตสูง ได้แก่ 1.เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)  2. เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน (GreenTech) เทคโนโลยีสะอาด (CleanTech) และ Climate Tech และ  3.และเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech)


ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีจำนวนสตาร์ทอัพประมาณ 2,100 ราย แบ่งเป็นระยะ Pre-seed 700 ราย และระยะ Go-to market หรือ Growth 1,400 ราย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สตาร์ทอัพไทยถือว่ามีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการระดมทุนในรอบ Seed เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับปีก่อน มีการเติบโตสะสมตั้งแต่ปี 2021 เพิ่มถึงร้อยละ 3.3 ทั้งนี้ ผลการจัดอันดับดัชนีระบบนิเวศสตาร์ทอัพโลก (Global Startup Ecosystem Index)ในปีที่ผ่านมาโดย StartupBlink (ศูนย์กลางข้อมูลด้านระบบนิเวศสตาร์ทอัพที่ครอบคลุมทั่วโลก)ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 54 ของโลก อันดับที่ 4 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซียซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าของระบบนิเวศสตาร์ทอัพไทยซึ่งได้รับการยอมรับในระดับสากลว่าเป็นหนึ่งในศูนย์กลางที่น่าสนใจสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจนี้

ความท้าทายของธุรกิจสตาร์ทอัพที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นมิติด้าน Data Center ที่ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของการลงทุนทั้งจากผู้เล่นไทยและระดับโลก ในฐานะ & quot; ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล" แห่งใหม่ในภูมิภาค โดย 3 ปีที่ผ่านมาขนาด Data Center ของไทยเติบโตกว่าร้อยละ 54 เป็นอันดับ 3 ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์และมาเลเซียซึ่งคาดการณ์ว่าปี 2024 – 2027 ประเทศไทยน่าจะสามารถดึงดูดการลงทุน Data Center ได้เป็นมูลค่าประมาณ 2.6 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังต้องเร่งพัฒนาด้านบุคลากรเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด รวมถึงสร้างความมั่นใจด้านนโยบายในระยะยาวเพื่อดึงดูดการลงทุนและสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนซึ่งสอดคล้องไปกับความท้าทายในสังคมยุค AI และการพัฒนาทักษะใหม่ของแรงงานรวมถึงการมุ่งดำเนินธุรกิจตามแนวคิด ESG ของระบบเศรษฐกิจทั่วโลกเพื่อให้เกิดความยั่งยืนครอบคลุมทุกมิติ


สำหรับแนวโน้มธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีโอกาสเติบโตสูงในปี 2025ทั้งในไทยและต่างประเทศจะมุ่งเน้นเทคโนโลยีแห่งอนาคต เช่น 1.เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งกำลังปฏิวัติวงการธุรกิจอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่สร้างสรรค์ (Generative AI) เนื่องจากสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรมทำให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้นนอกจากนี้ ยังมีการเข้ามาของระบบเอเจนต์ AI (AI Agentic Systems) ที่สามารถคิดวิเคราะห์ และตัดสินใจได้เอง สามารถจัดการงานที่ซับซ้อนแก้ไขปัญหาที่ต้องใช้ข้อมูลหลายมิติซึ่งพบว่ากลุ่มผู้บริหารองค์กรและนักลงทุนมากกว่าร้อยละ 70 ให้ความมั่นใจว่า ระบบ AI Agents จะเป็นเทคโนโลยีสำคัญในองค์กรทั้งเชิงการคิด การผลิต การแก้ปัญหา งานบริการเร็วต่อทุกความต้องการของตลาด และช่วยลดการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีนัยสำคัญ

2.เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน (GreenTech) เทคโนโลยีสะอาด (CleanTech) และ  Climate Tech เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรงขึ้นหลายองค์กรให้ความสำคัญกับแนวคิด ESG มากขึ้นรวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ทำให้ตลาดเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมทั่วโลกมีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดดโดยคาดการณ์ว่าจะเติบโตเฉลี่ยปีละเกือบร้อยละ 25 ตลอดระยะเวลา 10 ปีข้างหน้าด้วยโซลูชันใหม่ที่ตอบโจทย์ปัญหาสิ่งแวดล้อมหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพลังงานสะอาดการจัดการขยะหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นสตาร์ทอัพที่จะประสบความสำเร็จได้จึงควรสร้างโมเดลธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมควบคู่กับการทำธุรกิจ และ


3. และเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ FinTech  ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นผู้นำในการดึงดูดการลงทุน มีอัตราการระดมทุนในรอบ Seedสูงถึงร้อยละ 26 ซึ่งสูงที่สุดในปี 2567 และเทคโนโลยีบล็อกเชนตามมาที่ร้อยละ 20ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความน่าสนใจของเทคโนโลยีเหล่านี้ ทั้งนี้สิ่งหนึ่งที่สำคัญในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คือ สตาร์ทอัพต้องมีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์การสร้างระบบที่ปรับเปลี่ยนได้รวดเร็วเปรียบเสมือนการสร้างฐานรากที่แข็งแกร่งให้กับธุรกิจ ทำให้สตาร์ทอัพสามารถเติบโตและขยายธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง

ในปี 2025 ภายใต้บทบาทผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม NIA ยังคงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและสนับสนุนสตาร์ทอัพให้สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดผ่านกลไกและเครือข่ายที่มีอยู่ โดยเฉพาะในกลุ่ม “Impact Tech” ซึ่งสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับระบบเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศรวมถึงการสร้างภาพลักษณ์และการยอมรับประเทศไทยในฐานะ “ชาตินวัตกรรม”สำหรับกลกไกการสนับสนุนของ NIA นั้นครอบคลุมทุกระยะตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจจนออกสู่ตลาดในระดับสากลภายใต้แนวคิด Groom – Grant – Growth – Globalโดยเริ่มต้นจากกลไกการบ่มเพาะความรู้และสร้างเครือข่าย (GROOM)ผ่านสถาบันวิทยาการนวัตกรรม หรือ NIA Academyที่มีหลักสูตรร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร และการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านออนไลน์(MOOCs) และโครงการ Startup Thailand Leagueทีช่วยพัฒนาศักยภาพและความสามารถด้านนวัตกรรมแก่เยาวชนในระดับอุดมศึกษาให้มีทักษะและมุมมองในการเป็นผู้ประกอบการพร้อมก้าวเข้าสู่โลกแห่งการเป็นสตาร์ทอัพที่ต้องออกสู่ตลาดจริงการสนับสนุนเงินทุนให้เปล่า (Grant)ในหลากหลายรูปแบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อเอื้อต่อการสร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมครอบคลุมทั้งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เช่นแพลตฟอร์มส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศแพลตฟอร์มส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมรายภูมิภาค และทุนสำหรับนวัตกรรมเพื่อสังคมเช่น โครงการหมู่บ้านนวัตกรรม โครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน  ดร.กริชผกา กล่าวทิ้งท้าย


สำหรับกลุ่มที่ต้องการเร่งการเติบโตเพื่อออกสู่ตลาด NIA มีการสร้างโอกาสขยายผลเพื่อการเติบโตทางธุรกิจ (GROWTH) ผ่านโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งการเติบโตสตาร์ทอัพใน 4 ด้าน ได้แก่ เทคโนโลยีอาหาร(โครงการ SPACE–F) เทคโนโลยีเกษตร (โครงการ AGROWTH)เทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Health Tech)และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Tech)รวมถึงการส่งเสริมและเผยแพร่ตัวอย่างความสำเร็จทางนวัตกรรมผ่านโครงการนิลมังกร ซึ่งมีการต่อยอดเป็นนิลมังกร 10 X ที่เน้นสร้างผู้ประกอบการนวัตกรรมคุณภาพสูงให้เข้าสู่ตลาดทุนโดยตั้งเป้ายอดขายไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทใน 3 ปี โดยมุ่งขยายและสร้างโอกาสต่อยอดสู่ระดับโลก(Global) ผ่าน Global startup hub ที่จะช่วยส่งเสริมการขยายตลาดไปยังตลาดต่างประเทศ โดย NIAได้ร่วมเป็นเครือข่ายพันธมิตรกับหลายประเทศ เช่น ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เยอรมนีและประเทศกลุ่มนอร์ดิก เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีกลไกส่งเสริมการลงทุนในรูปแบบ Corporate Co-Fundingร่วมกับสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน หรือ TVCA ที่จะสนับสนุนเงินลงทุนมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท โดยยังมีหน่วยงานที่คล้ายคลึงกันได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOIด้วยมาตรการส่งเสริมสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพสูง โดยให้เงินสนับสนุน 20 - 50 ล้านบาทกับสตาร์ทอัพในระยะ Pre-Serise A+ ขึ้นไปและกองทุนวันอินโนเวชั่นจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยโดยได้รับการสนับสนุนในงบประมาณภายใต้วงเงิน 1,000 ล้านบาท รวมถึงบีคอนเวนเจอร์ แคปิทัล ได้จัดตั้ง Beacon Impact Fund ที่เน้นลงทุนด้าน ESG ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้น 1,200 ล้านบาท นอกจากปัจจัยและกลไกต่างๆ ที่ NIAได้ริเริ่มและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ยังมี“พระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น” หรือ พรบ. สตาร์ทอัพซึ่งจะเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ระบบนิเวศสตาร์ทอัพไทยมีความเข้มแข็งและเอื้อต่อการเติบโตของสตาร์ทอัพได้อย่างเป็นรูปธรรม และสิ่งที่สตาร์ทอัพของไทยยังขาดคือ โอกาส   ความพร้อมของตัวเอง การบริการจัดการและการช่วยเหลือจากภาครัฐ

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้